เลี้ยงกระต่ายให้อยู่แต่ในกรง ดีแล้ว จริงหรือ?

มีเหตุผลนะ ที่เธอต้อง “อยู่ในกรง”

ครั้งหนึ่ง ปีเคยพูดไว้ว่า “กรง” ไม่ใช่ที่กักขังของสัตว์เลี้ยง แต่ “กรง” คือ “ห้องนอน” เอาไว้ให้พักผ่อน มีมุมอาหาร มุมห้องน้ำ มุมงีบเป็นที่ส่วนตัวอีกหนึ่งที่ให้กับกระต่าย

หลายคนบอกว่าการเลี้ยงกระต่ายในกรงไม่ดี.. ถูกค่ะ ถ้าคุณเลี้ยงเขาไว้ในกรงตลอดเวลา ถ้าคุณเลี้ยงกระต่ายให้อยู่ในกรงอย่างเดียว นั่นคือการ “กักขัง” เทียบกันง่ายๆ หากคนอยู่ในห้องแคบๆ ทุกวัน มันก็คงมีผลที่ตามมา เยอะแยะเลย ว่าไหมล่ะคะ…

กระต่ายเอง ก็เป็นโรคซึมเศร้าได้นะ คุณเคยเห็นกระต่าย กระโดด ลั้ลลา ในกรงแคบๆ หรือเปล่า เมื่อกระต่ายไม่ได้เคลื่อนไหว การนั่ง นอนนานๆ ในกรง กระต่าย จะเป็นแผลใต้เท้า การไม่ออกมาวิ่ง ระบบย่อยอาหารก็จะทำงานได้ไม่ดี ทำให้ท้องอืดได้


ทำไมต้อง “อยู่ในกรง”

  • ที่อยู่อาศัยของคุณ มีพื้นที่จำกัด
  • ป้องกันความเสียหายของเฟอร์นิเจอร์ในบ้าน
  • ลดอุบัติเหตุที่ กระต่ายจะซุกซน จนบาดเจ็บ
  • มีห้องน้ำเป็นของตัวเอง (ถ้าฝึกการใช้ห้องน้ำ)

เลี้ยงกระต่ายในกรง ง่ายต่อการดูแลรักษายามเจ็บป่วย จะได้ไม่ต้องวิ่งรอบบ้านเพื่อจับกระต่าย นั่นจะทำให้กระต่ายเครียดมากกว่าเดิมอีก

ผู้เลี้ยงบางท่าน อาจบอกว่ากระต่ายของตน เลี้ยงในกรงไม่ได้ พยายามจะออก แทบจะกัดลิ้นตายกันเลย เป็นไปได้ที่ไม่ยอม เพราะแต่แรกผู้เลี้ยงเริ่มที่ จะฝึกให้เขาอยู่ในที่กว้าง (ไว้ค่อยมาพูดถึงเรื่องเลี้ยงแบบไม่ขังกันค่ะ)

** แต่อย่าลืมค่ะ กระต่ายบางตัวมีนิสัยไม่เหมือนกัน

“การกัดกรงไม่ได้ความว่าอยากออกเสมอไป” เขาอาจกำลังป่วย ขออาหาร หรือกำลังเรียกร้องความสนใจจากผู้เลี้ยงอยู่ ผู้เลี้ยงเป็นคนเลี้ยงกระต่ายย่อมรู้มากกว่าคนอื่นว่าเขาเป็น หรือ ต้องการ อะไรกันแน่


“อยู่ในกรง” ได้ แต่ให้เวลาเขาลั้ลลาบ้าง

  • ปล่อยวิ่งเล่นอย่างน้อยวันละ 15 นาที ต่อวัน ชีวิตดี๊ดี
  • นั่งเล่นบนพื้นเป็นเพื่อนกับเขา เพิ่มความสัมพันธ์ได้ดีเลย
  • ขนมสักชิ้น แล้วเรียกมาหา ดี๊ด๊ามากๆ

อย่าลืมแบ่งอาณาเขตชัดเจนให้เขา เพื่อป้องกันทรัพย์สินถูกทำลายด้วยนะคะ ^^


เพื่อนๆท่านใดเลี้ยงในกรง แล้วปล่อยเป็นบางเวลา มีข้อดี หรือ ข้อเสีย อย่างไรบ้าง มาแบ่งปันให้ผู้เลี้ยงมือใหม่ที่อาจแวะเวียนผ่านมากันได้ค่ะ แล้วพบกับกับบทความเข้าใจง่ายๆ ที่จะทำให้การเลี้ยงกระต่ายไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ในครั้งหน้านะคะ

เขียนโดย : ปี JP Rabbitry

    ภาพ บทความ หรือผลงานใดๆ ในบลอคนี้ ใช้สัญญาอนุญาต Creative Commons แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย แปลว่าคุณสามารถนำไปเผยแพร่ได้ แต่ต้องให้เครดิตกันด้วยนะจ๊ะ